เป้าหมายรายสัปดาห์
นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วแล้วจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน
และสามรารถถ่ายทอดและอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจและใช้เหตุผลแสดงความคิดเห็น
กับเรื่องที่อ่านได้
สามารถอธิบายเกี่ยวกับประโยค ส่วนประกอบของประโยค ส่วนให้ผู้อื่นฟังได้
พร้อมทั้งแต่งรูประโยค และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
สามารถเขียนเรื่องราวตามจินตนาการของตนเองอย่างสร้างสรรค์
รวมทั้งการนำความรู้ที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
Week
|
Input
|
Process ( กิจกรรมการเรียนรู้)
|
Output
|
Outcome
|
๔
๖-๑๐ มิ.ย. 59
|
โจทย์ :
-วรรณกรรมเรื่อง วรรณกรรมอธิษฐานสิจ๊ะ กับนางฟ้าสีเขียว ตอน ผมอยากเป็นผู้ใหญ่
คำถาม :
- ถ้าให้เปรียบผู้ใหญ่เป็นอะไรบางอย่างจะเปรียบเป็นสิ่งใด
เพราะอะไร
-คำวิเศษณ์ คำกริยาเป็นอย่างไร
ลองยกตัวอย่างของทั้งสองคำที่เรามักใช้ในชีวิตประจำวัน
หลักภาษา
คำกริยา คำวิเศษณ์
เครื่องมือคิด
- Blackboard Share
ถ่ายทอดหรือนำเสนอความคิดของตนเองในรูปแบบการเขียน
-
Show and Share
นำเสนอผลงานของตนเอง
และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสิ่งที่ศึกษาค้นคว้า
-Brainstorms
การช่วยกันคิดระดมสมอง
สื่อ
และแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน -บทความ
-บัตรคำกริยา
คำวิเศษณ์
-ใบงานคำกริยาแลคำวิเศษณ์
- วรรณกรรมอธิษฐานสิจ๊ะ กับนางฟ้าสีเขียว ตอน เมื่อผมเป็นผู้ใหญ่ขึ้น
|
วันอังคาร
ชง :-ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิด “ เมื่อพูดถึงผู้ใหญ่นักเรียนคิดถึงอะไร
และถ้านักเรียนเป็นผู้ใหญ่นักเรียนจะทำอย่างไร” “ และถ้านักเรียนเป็นผู้ใหญ่นักเรียนอยากจะทำอะไรบ้าง”
เชื่อม :-นักเรียนร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็น
-นักเรียนอ่านวรรณกรรมอธิษฐานสิจ๊ะ กับนางฟ้าสีเขียว ตอน ผมอยากเป็นผู้ใหญ่
วันพุธ
เชื่อม : -ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ :
ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันเล่าเรื่องให้เพื่อนๆฟัง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ :
นักเรียนเคยพบเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้จากที่ใด และนักเรียนมีวิธีการจัดการอย่างไร
ประเมินค่า :
นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ :
นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องและเขียนแสดงความคิดเห็นลงในกระดาษ
ใช้ : -ครูให้นักเรียนเขียนเรียงความเรื่อง
“ เมื่อผมเป็นผู้ใหญ่ “
-นำเสนอเรื่องราวของตนเอง
วันพฤหัสบดี
ชง :-นักเรียนฟังประโยคที่มีคำคำวิเศษณ์ พร้อมกับตั้งคำถามกระตุ้นความคิด
นักเรียนสังเกตเห็นอะไรในคำเหล่านี้ คำเหล่านี้น่าจะเรียนว่าอะไร
-นักเรียนแบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลพร้อมกับจดบันทึก
-นักเรียนแต่ละกลุ่มหาคำวิเศษณ์ที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรม
เชื่อม : -นักเรียนแต่ละกลุ่มหาคำวิเศษณ์ที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรม
วันศุกร์
ชง : -ครูมีบัตรคำมาให้นักเรียนเลือกและติดบนกระดาน(
มโนมติ )
-ครูแบ่งกระดานออกเป็นสองฝั่ง และเขียน ใช่ กับไม่ใช่
-ครูมีบัตรกริยามาให้นักเรียนอ่านและถามว่า ใช่หรือไม่ใช่
-ครูนำบัตรคำไปติดบนกระดานฝังที่ ใช่ ไม่ใช่
-ครูถามนักเรียนว่า นักเรียนสังเกตเห็นอะไรในคำที่ติดอยู่ในฝั่งที่เขียนว่าใช่
เชื่อม : -นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำที่อยู่บนกระดาน
-นักเรียนศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับคำกริยาพร้อมกับจดบันทึก
ใช้ :- นักเรียนนักเรียนแบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลนำคำกริยาและคำวิเศษณ์มาแต่งเป็นเพลงพร้อมกับนำเสนอ
-นักเรียนทำใบงานคำกริยาและคำวิเศษณ์
|
ภาระงาน
-อ่านวรรณกรรม วิเคราะห์แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้
-การเขียนเรียงความ
เมื่อผมเป็นผู้ใหญ่
-การฟังเรื่องเล่าและร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้
-การแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น
-การสรุปองค์ความรู้ในรูปแบบบทเพลง
-การทำใบงานคำกริยาและคำวิเศษณ์
-การนำเสนอผลงานของตนเอง
ชิ้นงาน
เรียงความเรื่อง เมื่อผมเป็นผู้ใหญ่
-บันทึกข้อมูลสิ่งที่ศึกษาค้นคว้า
-แต่งเพลงเกี่ยวกับคำกริยาและคำวิเศษณ์
-ใบงานคำกริยาแลคำวิเศษณ์
|
ความรู้
เข้าใจสามารถอธิบายความหมายและยกตัวอย่างคำวิเศษณ์
รวมถึงการตั้งคำถาม ตอบคำถาม การลำดับเห็นการ
คาดคะเนเหตุการณ์จากวรรณกรรมที่อ่านให้ผู้อื่นเข้าใจได้
และสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม
ทักษะ
-ทักษะชีวิต
สามารถนำวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้กับการดำรงชีวิตของตนเองได้
-ทักการสื่อสาร
สามารถอธิบาย
ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจได้
-ทักษะทำงานร่วมกับผู้อื่น
รับฟังความคิดเห็นจากผิอื่น
และมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน
-ทักษะการคิดสร้างสรรค์
มีความความคิดที่แปลกใหม่
สรรค์ชิ้นงานหลายรูปแบบ
คุณลักษณะ
เคารพสิทธิหน้าที่
เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดของตนเองและผู้อื่นอย่างมีเหตุ-ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-มีความรับผิดชอบ
–มีความคิดสร้างสรรค์
|
ภาพกิจกรรมการจัเการเรียนการสอน
ภาพชิ้นงาน
บันทึกหลังสอนสัปดาห์ที่ ๔
ตอบลบสัปดาห์พี่ๆ ป.4 เรียนการอ่านวรรณกรรมตอน ผมอยากเป็นผู้ใหญ่ และเรียนหลักภาษาเรื่องคำกริยา และคำวิเศษณ์ โดยการจัดกิจกรรมไม่ค่อยเป็นไปตามแผนการสอนที่ได้วางเอาไว้ กิจกรรมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสม ความพร้อม และความสนใจของพี่ๆ โดยกิจกรรมของการอ่านวรรณกรรมเป็นการอ่านและสรุปองค์ความรู้
การสอนอ่านวรรณกรรมนั้นในส่วนของสัปดาห์ที่ ๔ เด็กๆอ่านวรรณกรรมด้วยตนเองจากนั้นเป็นการสรุปองค์ความรู้ออกมาตามความถนัดของตนเอง เด็กมีความตั้งใจในการอ่านจากที่เคยทดสอบการอ่านมาพบว่าเด็กหลายคนอ่านได้คล่องบ้างแล้วแต่ยังมีอีกส่วนใหญ่ที่ยังต้องมีการฝึกในเรื่องการอ่านต่อไป ด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นการตัดสินใจที่จะให้เด็กอ่านคนเดียวแทนที่จะอ่านไปพร้อมๆกัน เพราะบางคนอ่านช้า บางคนอ่านเร็ว อย่างไรก็ตามครูผู้สอนจะหาเวลาว่างช่วงหลังเลิกเรียนทำการฝึกอ่านเด็กต่อไปตามความเหมาะสมของเวลาและความพร้อมของเด็กด้วย
ในส่วนของการจัดการเรียนการสอนในเรื่องหลักภาษานั้น ในสัปดาห์ที่๔ นี้เป็นการสอนเรื่องคำกริยาและคำวิเศษณ์โดยมีกิจกรรมคือ มีการให้เด็กแบ่งกลุ่มกลุ่มละ ๕ คน หาบัตรคำที่เป็นคำกริยาและคำวิเศษณ์มาจากนั้นเมื่อได้บัตรคำเหล่านั้นมาแต่ละกลุ่มจะช่วยกันคิดว่าคำที่กลุ่มได้มาเป็นคำชนิดใด โดยจะศึกษาค้นคว้าจากหนังสือหลักภาษา ซึ่งผลที่ออกมานั้นพบว่านอกจากคำกริยา คำวิเศษณ์แล้วเด็กๆยังสามารถบอกได้ว่าคำที่หามาได้นั้นยังเป็นคำตรงข้ามอีกด้วย ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งความแปลกใจที่ครูพบ
ส่วนผลงานของเด็กๆนั้นครูให้เด็กๆนำคำกริยา คำวิเศษณ์มาแต่งเรื่องสั้นและทำเป็นสมุดเล่มเล็ก ซึ่งเด็กๆก็ตั้งใจทำ และได้รับการช่วยจากครูณีในการตรวจและได้ลงความเห็นว่าควรที่จะทำใหม่โดยต้องมีการเขียนให้สวยงามเด็กๆทำออกมาในรูปแบบของการ์ตูนช่องที่สวยงาม
ปัญหาและอุปสรรคในครั้งนี้คือ การคุมเด็กคนเดียวทำให้เอาเด็กไม่อยู่ทำให้การส่งเสียงดังรบกวนห้องเรียนข้าง
สิ่งที่ได้เรียนรู้ ในสัปดาห์นี้ ก็เป็นสัปดาห์ที่๔แล้วสำหรับการปรับตัว การเรียนรู้ รู้สึกว่าตนเองกล้าที่จะพูด และยังคงต้องค้นหาตัวตนของตนเองเพื่อนำมาใช้ในการเก็บเด็กต่อไป ตามที่ครูหลายๆท่านได้ให้คำแนะนำไว้ จะพยายามและเก็บเกี่ยวรวมทั้งทั้งค้นหาบุคลิกของตนเองต่อไป ที่สำคัญคือต้องสามารถนำมาใช้กับชั้นเรียนและเด็กๆต่อไปให้ได้ค่ะ