เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย :เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง

1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ

2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week2

เป้าหมายรายสัปดาห์
นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วแล้วจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน และสามรารถถ่ายทอดและอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจและใช้เหตุผลแสดงความคิดเห็น
กับเรื่องที่อ่านได้ สามารถอธิบายเกี่ยวกับลักษณะของคำเป็นคำตายพร้อมกับยกตัวอย่างประกอบได้และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ สามารถเขียนเรื่องราว
ตามจินตนาการของตนเองอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งการนำความรู้ที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

Week
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome



๒๓-๒๗ พ.ค. 59
โจทย์ :
วรรณกรรมอธิษฐานสิจ๊ะ กับนางฟ้าสีเขียว ตอน นางฟ้าสีเขียว
คำถาม : 
-การรักษาสัญญาสำคัญไหม แล้วถ้าเราสัญญาแล้วไม่รักษาสัญญาผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร แล้วนักเรียนจะมีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร
- นักเรียนเห็นอะไรในบัตรคำสองฝั่งนี้ แล้วคำเหล่านี้มีชื่อเรียกว่าอย่างไร
หลักภาษา:
-คำเป็น  คำตาย

เครื่องมือคิด
Blackboard Share  
ถ่ายทอดหรือนำเสนอความคิดของตนเองในรูปแบบการเขียน
- Show and Share 
นำเสนอผลงานของตนเอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสิ่งที่ศึกษาค้นคว้า
-Brainstorms 
การช่วยกันคิดระดมสมอง

สื่อ และแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
-บัตรคำ ( คำเป็น ตาย)
อธิษฐานสิจ๊ะ กับนางฟ้าสีเขียว
 ตอน นางฟ้าสีเขียว
วันอังคาร
ชง :-ครูแนะนำวรรณกรรมให้นักเรียนดู
-นักเรียนอ่านวรรณกรรมเรื่องอธิษฐานสิจ๊ะ กับนางฟ้าสีเขียว ตอน นางฟ้าสีเขียว
เชื่อม :สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- ครูตั้งคำถาม “การรักษาสัญญาเป็นแบบไหน แล้วถ้าเราสัญญาแล้วไม่รักษาสัญญาผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร แล้วนักเรียนจะมีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไร
-ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันเล่าเรื่องให้เพื่อนๆฟัง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเคยพบเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้จากที่ใด และนักเรียนมีวิธีการจัดการอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องและเขียนแสดงความคิดเห็นลงในกระดาษ
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา
ใช้ : นักเรียนเขียนแผนภาพโครงเรื่องที่อ่านตามความเข้าใจ
วันพุธ
ชง :-ครูมีบัตรคำมาให้และนักเรียนร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวบัตรคำ (บัตรคำเป็นคำตาย)
-นักเรียนแบ่งกลุ่มศึกษาเรื่องคำเป็นคำตายพร้อมกับเขียนบันทึกข้อมูลที่สืบค้น
-ครูมีบัตรคำ (คำเป็น คำตาย) นักเรียนแบ่งกลุ่มจัดประเภท
-แต่ละกลุ่มช่วยกันหาคำศัพท์เพิ่มเต็มจากสิ่งของที่อยู่ใกล้ๆตัว
 -นักเรียนแต่ละกลุ่มหาคำศัพท์ (คำเป็นคำตาย) ในวรรณกรรมที่อ่าน
เชื่อม : -นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงาน
วันพฤหัสบดี
ชง :-ครูมีบัตรคำ (คำเป็น คำตาย)นักเรียนที่แบ่งกลุ่มจัดประเภท
-แต่ละกลุ่มช่วยกันหาคำศัพท์เพิ่มเต็มจากสิ่งของที่อยู่ใกล้ๆตัว
 -นักเรียนแต่ละกลุ่มหาคำศัพท์ (คำเป็นคำตาย) ในวรรณกรรมที่อ่าน
เชื่อม : -แต่ละกลุ่มนำเสนอวิธีการจัดหมวดหมู่คำเป็น คำตาย
-ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเล่นเกม” ตามหาคำเป็นคำตาย”
-นักเรียนนำเสนอผลงานกลุ่มและร่วมกันอภิปราย
วันศุกร์
ชง :  -ครูทบทวนวรรณกรรมและหลักภาษาเรื่องคำเป็นคำตาย
เชื่อม : -นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องคำเป็นคำตาย
ใช้ : -นำคำเป็นคำตายมาแต่งเป็นนิทานพร้อมวาดภาพประกอบ

ภาระงาน
- อ่านนิทาน วิเคราะห์แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ และแสดงความคิดเห็นจากการอ่านวรรณกรรม
สรุปเป็นองค์ความรู้  การ์ตูนช่อง
วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเล่นเกมจำแนกคำเป็นคำตาย
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำ และสิ่งที่ได้เรียนรู้
ชิ้นงาน
-บันทึกองค์ความรู้ที่ศึกษาเรื่องคำเป็นคำตาย
-จัดหมวดหมู่คำเป็นคำตาย
-แต่งนิทานคำเป็น คำตาย
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายความหมายและจำแนกคำเป็นคำตาย ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน   ลำดับเหตุการณ์และคาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน รวมทั้งสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ทักษะ
-ทักษะชีวิต
สามารถนำวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้กับการดำรงชีวิตของตนเองได้
-ทักการสื่อสาร
สามารถอธิบาย ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจได้
-ทักษะทำงานร่วมกับผู้อื่น
รับฟังความคิดเห็นจากผิอื่น และมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน
-ทักษะการคิดสร้างสรรค์
มีความความคิดที่แปลกใหม่ สรรค์ชิ้นงานหลายรูปแบบ
คุณลักษณะ
เคารพสิทธิหน้าที่  เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดของตนเองและผู้อื่นอย่างมีเหตุ-ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-มีความรับผิดชอบ
–มีความคิดสร้างสรรค์

ภาพกิจกรรมการเรียนรู้



















ชิ้นงาน/การนำเสนอผลงาน
  งานและการนำเสนอผลงานจะอยู่ในสัปดาห์ต่อไปเนื่องจากพี่ทำยังไม่เสร็จ

1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ ๒
    สิ่งที่ได้เรียนรู้
    ในสัปดาห์นี้ทั้งสัปดาห์เป็นการสอนที่เต็มสัปดาห์ดาไม่มีวันหยุด และเป็นสัปดาห์ที่ที่ได้เรียนรู้การสอนตามแผนที่วางไว้อย่างเต็มรูปแบบ แต่การสอนนั้นก็ไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ทั้งหมด มีการเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมและความพร้อมของผู้เรียน มีการเปลี่ยนกิจกรรมบ้าง แต่ก็ยังคงเรื่องหลักภาษาและวรรณกรรมที่จะสอนไว้เหมือนเดิม ทั้งนี้ยังเป็นการได้เรียนรู้เด็ก ความพร้อมของเด็กแต่ละคนรวมไปถึงความสามารถที่ค่อยๆแสดงให้เห็นของเด็กแต่ละคน นอกจากนี้แล้วการแก้ปัญหาในขณะที่สอนก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการฝึกผลและอาศัยความพยายามและคำแนะนำจากครูทุกท่าน
    ความรู้สึกหลังสอน
    สำหรับสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่ทั้งเหนื่อยและค่อนข้างที่เหนื่อยและท้อมากในเรื่องของการสอนและการเก็บเด็กให้อยู่กับตัวเขาเองซึ่งมันเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับนักศึกษาอย่างเราที่ยังอ่อนประสบการณ์ ในความวุ้นวายสับสน และความท้อแท้นั้นก็ยังมีเรื่องราวที่ทำให้เราได้ประทับอยู่บ้างในบางเรื่องราว หรือบางมุมมองของเด็กอีกมุมหนึ่งของพวกเขา ถึงเด็กเหล่านี้จะไม่ค่อยให้ความสนใจในขณะที่เราสอนแต่ในเวลาที่เราให้ทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆที่เป็นชิ้นงาน เด็กกลุ่มนี้จะให้ความสำคัญกับชิ้นงานของเขา ตั้งใจทำงาน มีงานส่งครูตามเวลาที่กำหนด เวลาที่เรารู้สึกท้อแท้ หรือมีบ้างที่รู้สึกโกรธแต่พอได้เห็นความตั้งใจที่ถ่ายทอดออกมาทางชิ้นงานของเด็กๆก็ทำให้ครูที่ค่อนข้างอ่อนประสบการณ์อย่างเราหายเหนื่อยขึ้นมาทันที จะว่าในเรื่องของชิ้นงานของเด็กที่ถ่ายทอดออกมานั้น แสดงให้เห็นถึงจินตนาการของเด็กๆแต่ละคน เราสามารถมองได้ถึงภูมิหลังของทางครอบครัวของเด็ก มองถึงนิสัยใจคอของเขา รวมถึงอีกหลายย่างที่เราสามรถค้นหาเด็กผ่านชิ้นงานของเขา
    บรรยากาศการสอน
    การสอนในสัปดาห์นี้นั้นก็ยงคงเก็บเด็กไม่อยู่เหมือนเดิมแต่ก็จะพัฒนาตนเองต่อไป การสอนก็ไม่ได้เป็นไปตามแผนสักเท่าไหร่ มีการปรับเปลี่ยนไปตามความพร้อมของผู้เรียน โดยในสัปดาห์นี้สอนเรื่องของ คำเป็น – คำตาย พี่ ป.4 มีความรู้เดิมเป็นพื้นฐานอยู่แล้วจึงทำให้ครูสอนต่อยอดจากความรู้เดิมของพี่ๆ นอกจากแผนแล้วที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนกิจกรรมและชิ้นงานก็ยังมีการปรับเปลี่ยนไปด้วยไม่ว่าจะเป็น การอ่าน การเขียนตามคำตามบอกทั้งหมดนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามความพร้อมของตัวผู้เรียน

    ตอบลบ