เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย :เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง

1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ

2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week3

เป้าหมายรายสัปดาห์
นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วแล้วจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน และสามรารถถ่ายทอดและอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจและใช้เหตุผลแสดงความคิดเห็น
กับเรื่องที่อ่านได้ สามารถอธิบายเกี่ยวกับประโยค ส่วนประกอบของประโยค ให้ผู้อื่นฟังได้ พร้อมทั้งแต่งรูประโยค และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
สามารถเขียนเรื่องราวตามจินตนาการของตนเองอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งการนำความรู้ที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
Week
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome



๓๐-๓
มิ.ย. 59
โจทย์ :
-วรรณกรรมเรื่อง อธิษฐานสิจ๊ะ กับนางฟ้าสีเขียว ตอน อนาคต
คำถาม : 
เพื่อนคืออะไร สำคัญมากหรือไม่ ควรปฏิบัติต่อเพื่อนอย่างไร
-นักเรียนเห็นอะไรในคำเหล่านี้ ลองยกตัวอย่างของคำที่เรามักใช้ในชีวิตประจำวัน
หลักภาษา
-คำนาม คำสรรพนาม
เครื่องมือคิด
Blackboard Share  
ถ่ายทอดหรือนำเสนอความคิดของตนเองในรูปแบบการเขียน
- Show and Share 
นำเสนอผลงานของตนเอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสิ่งที่ศึกษาค้นคว้า
-Brainstorms 
การช่วยกันคิดระดมสมอง

สื่อ และแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
-ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต
วรรณกรรมอธิษฐานสิจ๊ะ กับนางฟ้าสีเขียว ตอน อนาคต
วันอังคาร
ชง :-ถ้าพูดถึงอนาคตนักเรียนจะคิดถึงอะไร
-นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
-นักเรียนอ่านวรรณกรรมเรื่อง อธิษฐานสิจ๊ะ กับนางฟ้าสีเขียว ตอน อนาคต
เชื่อม :-ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันเล่าเรื่องให้เพื่อนๆฟัง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเคยพบเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้จากที่ใด และนักเรียนมีวิธีการจัดการอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องและเขียนแสดงความคิดเห็นลงในกระดาษ
ใช้ : - นักเรียนร่วมกันสรุปข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณกรรม
วันพุธ
ชง :-ครูมีบัตรคำ(คำนาม สรรพนาม) มาให้นักเรียนอ่าน และให้นักเรียนสังเกตพร้อมกับแสดงความคิดเห็นบนกระดาน
-จับฉลากแบ่งกลุ่ม และค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับคำนามและคำสรรพนามจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆและช่วยกันอธิบายสิ่งที่ตนเองค้นคว้า พร้อมเสนอแนะการนำไปใช้
เชื่อม :-นักเรียนค้นหาคำศัพท์จากวรรณกรรมที่อ่าน
ใช้ : สรุปเกี่ยวกับคำนามและคำสรรพนามโดยออกแบบเป็นสมุดคำศัพท์เล่มเล็ก
วันพฤหัสบดี
ชง :นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันจัดหมวดหมู่คำนาม คำสรรพนาม
ใช้ : -สรุปเกี่ยวกับคำนามและคำสรรพนามโดยออกแบบเป็นสมุดคำศัพท์เล่มเล็ก

วันศุกร์
เชื่อม :-แต่ละกลุ่มซ้อมการแสดงละคร
ใช้ : -แต่ละกลุ่มนำคำนามและคำสรรพนามมาแต่งเป็นละครและทำการแสดง

ภาระงาน
-อ่านวรรณกรรม วิเคราะห์แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้
-การเล่นเกมใบ้คำจากบัตรภาพ
-การค้นคว้าข้อมูลคำนาม คำสรรพนาม
-การออกแบบบัตรภาพ
-การทำสมุดเล่มเล็ก
-การแต่งละคร
ชิ้นงาน
- ผลงานจากกิจกรรมที่ร่วมกันคิดและตอบคำถามร่วมกับเพื่อนในกลุ่ม
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ ในรูปแบบสมุดเล่มเล็ก
-แสดงละคร
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายความหมายและแยกประเภทของคำนามและคำสรรพนาม การลำดับเห็นการ คาดคะเนเหตุการณ์จากวรรณกรรมที่อ่านให้ผู้อื่นเข้าใจได้ และสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม
ทักษะ
-ทักษะชีวิต
สามารถนำวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้กับการดำรงชีวิตของตนเองได้
-ทักการสื่อสาร
สามารถอธิบาย ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจได้
-ทักษะทำงานร่วมกับผู้อื่น
รับฟังความคิดเห็นจากผิอื่น และมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน
-ทักษะการคิดสร้างสรรค์
มีความความคิดที่แปลกใหม่ สรรค์ชิ้นงานหลายรูปแบบ
คุณลักษณะ
เคารพสิทธิหน้าที่  เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดของตนเองและผู้อื่นอย่างมีเหตุ-ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-มีความรับผิดชอบ
–มีความคิดสร้างสรรค์

ภาพกิจกรรมการเรียนรู้
    กิจกรรมจิตศึกษา





















ภาพกิจกรรมวิชาภาษาไทย






























การนำเสนองาน / ชิ้นงาน




















1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังสอน
    สัปดาห์ที่ ๓ ของการจัดการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ในรายวิชาภาษาไทย ในสัปดาห์ที่ ๓ นี่พี่ ป.๔ เรียนการอ่านวรรณกรรมเรื่องอธิษฐานสิจ๊ะกับนางฟ้าสีเขียน ตอน อนาคต และเรียนหลักภาษาเกี่ยวกับคำนามและคำสรรพนาม ในเรื่องของการอ่านวรรณกรรมพี่ๆก็ได้อ่านเป็นการบ้านและได้สรุปองค์ความรู้จากวรรณกรรมที่อ่านในรูปแบบการ์ตูนช่องซึ่งผลงานที่พี่ๆได้ถ่ายออกมานั้นก็น่าประทับใจ เห็นความตั้งใจของพี่ๆเวลาทำงานมีส่งเสียงดังแต่ก็ทำงานและมีงานส่งคะ ส่วนในเรื่องของหลักภาษาเรื่องคำนามและคำสรรพนามนั้นพี่ได้ค้นหาคำนามกับคำสรรพนามจากวรรณกรรมที่อ่านและสิ่งที่อยู่รอบๆตัวให้ได้มากที่สุด ก็จะมีทั้งพี่ที่มีองค์ความรู้เดิมบ้างแล้วก็ให้ช่วยอธิบายเพื่อนๆได้ และก็มีบางส่วนที่ยังต้องอธิบายเพิ่มเติมอย่างเช่นเด็กใหม่ที่ย้ายมาซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเรียนเรื่องอะไรมาบ้างแล้วและก็ช่วยอธิบายเป็นรายบุคคล จากนั้นพี่ก็ได้ทำชิ้นงานเป็นการสรุปองค์ความรู้โดยการนำคำนามและคำสรรพนามมาแต่งเป็นเรื่องตามจินตนาการในรูปแบบสมุดนิทานเล่มเล็ก ซึ่งชิ้นงานนี้ก็เป็นที่สนใจของพี่ๆที่รู้สึกว่าพี่ๆจะชื่นชอบการแต่งนิทานเป็นอย่างมาก แต่เวลาก็ไม้พียงพอจึงมอบหมายให้เป็นการบ้านเสาร์-อาทิตย์
    ความรู้สึกหลังสอน
    สำหรับสัปดาห์นี้ก็ยังเก็บเด็กไม่ได้เหมือนเดิมแต่ก็ได้รับคำแนะนำจากครูณี และครูฝนในการที่เราจะใช้คำพูดกับเด็ก และต้องขอบคุณครูณีที่ช่วยให้คำแนะนำเตือนสติว่าเราไม่ใช่แค่นักศึกษาแต่เราต้องทำให้ตนเองเป็นครูเพราะฉะนั้นหนูจะพัฒนาตนเองไปเรื่อยๆคะ มีบ้างที่เหนื่อยและท้อเวลาที่บอกแล้วเด็กไม่ฟังแต่ก็บอกตนเองว่าต้องพยายามและทำความเข้าใจกับเด็กให้มากกว่านี้คะ สู้ๆ
    โจทย์ จากครูณี
    ในสัปดาห์นี้ครูณีให้โจทย์คือการรู้จักเด็กในห้องให้มากขึ้น ซึ่งเด็กแต่ละคนแสบทั้งนั้น และเราก็ต้องค้นหาวิธีพูด การเข้าหาเด็กแต่ละคนให้ได้ ซึ่งก็พอรู้บ้างแล้วว่าการใช้คำพูดกับเด็กก็มีความสำคัญมาก อย่างเช่นภูผาเราต้องใช้คำพูดที่นุ่มนวล เคยมีครั้งหนึ่งที่เราใช่คำพูดที่รุนแรงกับเขาและก็ได้Feedback คือสิ่งที่รุนแรงเช่นกัน ซึ่งสิ่งที่เรียนรู้ต่อไปก็เป็นพี่ป. ๔ อีกหลายคน
    สิ่งที่ได้เรียนรู้
    ในสัปดาห์นี้ได้เรียนรู้การทำจิตศึกษาซึ่งเป็นครั้งแรก การทำจิตศึกษาไม่เป็นที่น่าพอใจของตนเองเป็นอย่างมาก ขาดการฝึกซ้อม การวางแผน รวมไปถึงขาดประสบการณ์ ซึ่งก็จะเรียนรู้จากครูประจำชั้นและฝึกฝนบ่อยๆคะ

    ตอบลบ