เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

รายวิชาภาษาไทย :เป้าหมายของการเรียนรู้จากขั้นพื้นฐานไปสู่ขั้นสูง

1. เพื่อใช้ภาษาในการรับรู้และสื่อความต้องการ

2. เพื่อใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ให้ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์ต่างๆ

Week1

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา ภาษาไทย
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ Quarter 1 ปีการศึกษา ๒๕๕๘ โรงเรียนลำปลายลำมาศพัฒนา

เป้าหมายรายสัปดาห์
นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วแล้วจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน และสามรถถ่ายทอดและอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจและใช้เหตุผลแสดงความคิดเห็นกับเรื่องที่อ่านได้
สามารถอธิบายเกี่ยวกับมาตราตัวสะกดที่ตรงมาตราและไม่ตรงมาตราได้และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ สามารถเขียนเรื่องราวตามจินตนาการของตนเอง
อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งการนำความรู้ที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

Week
Input
Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)
Output
Outcome



๑๖-๒๐ พ.ค.59
โจทย์ :
วรรณกรรมอธิษฐานสิจ๊ะ กับนางฟ้าสีเขียว ตอน ผมเป็นอะไรได้หลายอย่าง
คาดเดาเรื่อง
-คำถาม :
- ภาระงานที่มอบหมายในช่วงปิดเรียน เป็นอย่างไรบ้าง?
-ทำไมชื่อของเรารวมทั้งสิ่งของต่างๆจะต้องมีชื่อเรียก และถ้าเราและสิ่งของไม่มีชื่อเรียกจะเป็นอย่างไร
-มาตราตัวสะกดในภาษาไทยจำแนกเป็นกี่มาตรา และแต่ละมาตรามีลักษณะอย่างไร
หลักภาษา
-มาตราตัวสะกดที่ตรงและไม่ตรงตามมาตรา
เครื่องมือคิด
- Show and Share 
นำเสนอผลงานของตนเอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสิ่งที่ศึกษาค้นคว้า
-Brainstorms 
การช่วยกันคิดระดมสมอง
สื่อ และแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- บัตรพยัญชนะ
วรรณกรรมอธิษฐานสิจ๊ะ กับนางฟ้าสีเขียว ตอน ผมเป็นอะไรได้หลายอย่าง
วันอังคาร
ชง :ครูและนักเรียนทักทายกันในวันเปิดเรียนวันแรก พร้อมทั้งเล่าความประทับใจในช่วงปิดเทอม
ครูทบทวนการบ้าน พร้อมตั้งคำถามกระตุ้นการคิด การบ้านปิดเทอมนักเรียนเป็นอย่างไร ใครทำได้หรือไม่ได้อะไรบ้าง?”
เชื่อม :ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการบ้านของนักเรียน
ครูแจกชิ้นงานภาษาไทยและวิชาอื่นๆ ใน Quarter ที่ผ่านมาให้นักเรียนเก็บเข้าเก็บเข้าแฟ้มสะสมงาน


วันพุธ
ชง : - ครูเล่าเรื่องราวของครูเมื่อตอนยังเล็กให้นักเรียนฟัง
- นักเรียนร่วมกันพูดคุยเรื่องราวเมื่อตอนยังเด็กให้ครูและเพื่อนๆฟัง
-ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด เมื่อพูด “ นางฟ้าสีเขียว ” “ อธิษฐาน”  “อธิษฐานสิจ๊ะ กับนางฟ้าสีเขียว”นักเรียนจะนึกถึงอะไร
เชื่อม : - ครูให้นักเรียนอ่านวรรณกรรมเรื่องอธิษฐานสิจ๊ะ กับนางฟ้าสีเขียว ตอน ผมเป็นอะไรได้หลายอย่าง
-ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันเล่าเรื่องให้เพื่อนๆฟัง
วิเคราะห์/สังเคราะห์ : นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนเคยพบเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้จากที่ใด และนักเรียนมีวิธีการจัดการอย่างไร
ประเมินค่า : นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจจากเรื่องและเขียนแสดงความคิดเห็นลงในกระดาษ
วันพฤหัสบดี
ชง :-ครูมีบัตรคำมาให้นักเรียนดู(วาฬ วาน อังคาร ขึ้นคาน )
-ครูตั้งคำถามกระต้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างจากคำเหล่านี้ เพราะเหตุใด มีคำใดบ้างที่เหมือนคำเหล่านี้?”
-ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มและช่วยกันหาคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกดในวรรณกรรม (กก กง กน กด กบ เกย เกอว) ให้ได้มากที่สุดในเวลาที่กำหนด
-ครูให้นักเรียนจัดหมวดหมู่คำศัพท์ (ตรง,ไม่ตรงมาตรา)
เชื่อม:-นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอการจัดหมวดหมู่คำศัพท์ ( ตัวสะกดที่ตรง ไม่ตรงตามมาตรา)
ชง :-นักเรียนศึกษาเรื่องมาตราตัวสะกดที่ตรงและไม่ตรงตามมาตรา
ใช้ : -นักเรียนศึกษาเรื่องมาตราตัวสะกดที่ตรงและไม่ตรงตามมาตราและทำเป็นสมุดเล่มเล็ก
วันศุกร์
ชง :-ครูและนักเรียนทบทวนความคืบหน้าของการทำสมุดเล็มเล็กเรื่องมาตราตัวสะกดที่ตรงและไม่ตรงตามมาตรา  
ใช้ : 
-นักเรียนสรุปองค์ความรู้เรื่องมาตราตัวสะกดในรูปแบบ Mind mapping



ภาระงาน
-การอ่านวรรณกรรม วิเคราะห์แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้
-การสรุปข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณกรรม
-การหาคำที่สะกดด้วยมาตราตัวสะกด (กก กง กน กด กบ เกย เกอว) ให้ได้มากที่สุด
-การจัดหมวดหมู่มาตราตัวสะกดที่ตรงและไม่ตรงตามมาตรา
-การนำเสนอผลงานของตนเอง
-การทำ Mind mapping
-การทำนิทานเล่มเล็ก
-การบ้านวรรณกรรมอธิษฐานสิจ๊ะ กับนางฟ้าสีเขียว ตอน นางฟ้าสีเขียว
ชิ้นงาน
-สรุปความคิดที่จากการอ่านวรรณกรรม
-จัดหมวดหมู่มาตราตัวสะกดที่ตรงและไม่ตรงตามมาตรา
- Mind mapping
-นิทานเล่มเล็ก
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายความหมายและจัดหมวดหมู่มาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตรา รวมถึงการตั้งคำถาม ตอบคำถาม และสามารถนำข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมไปปรับใช้
ทักษะ
-ทักษะชีวิต
สามารถนำวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้กับการดำรงชีวิตของตนเองได้
-ทักการสื่อสาร
สามารถอธิบาย ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจได้
-ทักษะทำงานร่วมกับผู้อื่น
รับฟังความคิดเห็นจากผิอื่น และมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน
-ทักษะการคิดสร้างสรรค์
มีความความคิดที่แปลกใหม่ สรรค์ชิ้นงานหลายรูปแบบ
คุณลักษณะ
เคารพสิทธิหน้าที่  เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดของตนเองและผู้อื่นอย่างมีเหตุ-ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-มีความรับผิดชอบ
–มีความคิดสร้างสรรค์


ภาพกิจกรรมการเรียนรู้






1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังสอน
    สัปดาห์แรกพี่ป.4 เรียนหลักภาษาเรื่องมาตราตัวสะกดและอ่านวรรณกรรมอธิษฐานสิจ๊ะกับนางฟ้าสีเขียว ตอน ผมเป็นอะไรได้หลายอย่าง และคาดเดาเรื่องก่อนอ่านวรรณกรรม ก่อนอ่านวรรณกรรมพี่คาดเดาเรื่องได้อย่างน่าสนใจ มีพี่ป.4บางคนเคยอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้มาแล้วก็สามารถที่จะถ่ายทอดออกมาค่อนข้างใกล้เคียงกับเรื่องที่อ่าน การอ่านวรรณกรรมพี่ตั้งใจอ่านมากดูเหมือนพี่ๆจะมีความสุขกับการอ่านและมีมาขอยืมวรรณกรรมไปอ่านต่อที่บ้านเพราะอยากรู้เรื่องราวในตอนต่อๆไป
    ในสัปดาห์นี้มีการทดสอบการอ่านของพี่ป.4 โดยการอ่านคำพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นป.4ทำให้ครูผู้สอนรู้ความสามารถในการอ่านของเด็กแต่ละคนที่แตกต่างกัน บางคนอ่านช้า อ่านคล่อง บางคนอ่านยังไม่คล่องเท่าที่ควร ทั้งครููก็จะมีการฝึกอ่านไปเลื่อยๆ และเนื่องจากมีการทดสอบด้านการอ่านจึงทำให้การเรียนการสอนในเรื่องหลักภาษา ต้องย้ายไปเรียนนสัปดาห์ถัดไป

    ตอบลบ